อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ผลิตภัณฑ์ตำบล
กอสน ปูนิ่ม (การทำปูนิ่ม)
คะแนนโหวต 4.00/5 คะแนน จากผู้โหวต 1 ท่าน

คุณสนาน วารีชน 169/39 หมู่ 5 ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ร้านกอสน ปูนิ่ม(หาดพยูน) 2/35 หมู่ 4 ตำบลพยูน อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

 

 

ประวัติความเป็นมา ในอดีตยังไม่มีการนำปูมาทำเป็นปูนิ่มแต่จะอาศัยการจับปูที่มาลอกคราบตามโขดหินตอนน้ำทะเลขึ้นสูง ประกอบกับการทำประมงในสมัยนั้นจะนิยมใช้เรือลากอวนซึ่งมีปูติดอวนมาเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงได้เกิดความคิดที่จะนำปูมาเลี้ยงให้ลอกคราบเป็นปูนิ่ม ในระยะแรกชาวบ้านในพื้นที่บ้านพยูนและพลาได้ไปขอปู ที่ติดมากับอวนโดยเป็นการเอาน้ำเค็มไปแลกหรือขอซื้อ ลองผิดลองถูกการเลี้ยงปูนิ่ม แรกเริ่มเดิมทีจะนำเอาทรายจากทะเลมาให้ปูเข้าไปฝังตัวเพื่อลอกคราบแต่ว่าทำให้ได้ปูนิ่มที่มีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควรเพราะมีทรายติดอยู่ในตัวปูมากเกินไปจนได้ลองนำปูมาเลี้ยงในอ่างน้ำโดยไม่มีทรายให้ปูฝังตัวปรากฏว่าปูสามารถลอกคราบ ได้เป็นปูนิ่มโดยที่ไม่มีทราย การเลี้ยงปูนิ่มจึงได้รับความนิยมในหมู่ครอบครัวชาวประมงในพื้นที่ แพร่หลายกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยปริมาณการเลี้ยงปูนิ่มในแต่ละครั้งจะอยู่ที่ประมาณ 20 กิโลกรัม แต่ปรากฏว่าปูนิ่มได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเป็นอย่างมากทำให้เพิ่มปริมาณการเลี้ยงมากขึ้นซึ่งกลุ่มลูกค้าที่มารับปูนิ่มไปขายหรือเอาไปบริโภคจะอยู่แถวจังหวัดระยอง,ชลบุรี ไปจนถึงจังหวัดเชียงใหม่ก็เคยมีมารับไป อุตสาหกรรมปูนิ่มกลายเป็นสินค้าส่งออกไปทั่วประเทศและต่างประเทศจากกิจการห้องเย็นในอำเภอบ้านฉาง สามารถเก็บรักษาปูนิ่มและสัตว์ทะเลอื่นๆได้ยาวนานยิ่งขึ้น

 

 

เอกลักษณ์/จุดเด่น การทำปูนิ่มในพื้นที่ตำบลบ้านฉางนั้นจะมีความแตกต่างจากการทำปูนิ่มในพื้นที่อื่นตรงที่สายพันธุ์ปูที่นำมาเลี้ยงนั้นจะเป็นปูม้าซึ่งจะเลี้ยงง่ายกว่าและไม่มีกลิ่นสาปแตกต่างจากพื้นที่จังหวัดอื่นจะนิยมใช้ปูดำที่ไปรับซื้อมาจากประเทศพม่าซึ่งจะมีขนาดใหญ่ เนื้อเยอะกว่าแต่มีกลิ่นสาปและต้องใช้เวลานานกว่าเนื่องจากต้องมาเลี้ยงให้อาหารก่อน

 

 

ความสัมพันธ์กับชุมชน ภูมิปัญญาการเลี้ยงปูนิ่มได้สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนชาวประมงในพื้นที่ตำบลบ้านฉางและตำบลพลาเป็นอย่างมาก แม้ว่าในปัจจุบันหลายครอบครัวไม่ได้ทำประมงอีกแล้วเพราะการเข้ามาตั้งของนิคมอุสาหกรรมมาบตาพุดทำให้คนรุ่นใหม่เข้าไปทำงานโรงงานประกอบกับทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ แต่ว่าก็ยังมีบางครอบครัวที่ยังคงทำปูนิ่มอยู่แม้ว่าจะไม่ได้ทำในปริมาณมากเหมือนในอดีตและเปลี่ยนมาเป็นการสร้างแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเผยแพร่วิธีการทำปูนิ่มให้กับหน่วยงานและกลุ่มบุคคลอื่นที่ต้องการศึกษาดูงาน นอกจากนั้นกลุ่มชาวประมงที่ทำปูนิ่มก็ได้มีการเพาะเลี้ยงลูกปูเพื่อนำไปปล่อยกลับคืนสู่ทะเลให้ปริมาณปูมีความอุดมสมบูรณ์สืบไป

 

 

กระบวนการผลิตขั้นตอนการผลิต 1. นำปูม้ามาตัดคมที่ก้ามออกก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้ปูกัดกัน 2. นำปูใส่ไว้ในอ่างน้ำที่มีเครื่องทำออกซิเจน 3. ปูจะทำการลอกคราบภายในระยะเวลา 8-9 ชั่วโมง ในตอนกลางคืน

 

 

ช่องทางการติดต่อ Facebook: กอสน ปูนิ่ม หาดพยูน เบอร์โทรศัพท์ : 090-7206385

แสดงความคิดเห็น